สรุปบทความ
เรื่อง คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยกับการเล่นรอบตัว
ดร.ภัทรวดี หาดแก้ว นักวิชาการ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา (สสวท.) ได้กล่าวว่า ในวัยอนุบาล
ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ เป็นครูคนแรก เป็นบุคคลที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองสามารถเตรียมความพร้อมให้เด็กๆ ได้โดยจัดประสบการณ์สิ่งเสริมการเรียนรู้แบะพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เช่น การจำแนก การเปรียบเทียบ และการเรียงลำดับ
การพัฒนาทักษะการจำแนก
เป็นการจัดกลุ่มแยกสิ่งของออกเป็นประเภทต่างๆ โดยพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันของสิ่งของนั้นๆ (สสวท,2554)
วิธีการพัฒนา
ให้เด็กๆ เกิดทักษะการจำแนกผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ให้เด็กเก็บช้อนใส่ในที่เก็บช้อน เก็บส้อมใส่ในที่เก็บส้อม
การพัฒนาการเปรียบเทียบ
เป็นกระบวนการที่เด็กหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆบนพื้นฐานของลักษณะเฉพาะบางลักษณะ (สสวท,2554) เช่น การเปรียบเทียบความสูงของเด็กกับคุณพ่อคุณแม่ เด็กก็จะบอกได้ว่าคุณพ่อคุณแม่สูงกว่า อีกทั้งเด็กๆ ยังสามารถเปรียบเทียบจำนวนจำนวนของสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม ได็โดยไม่จำเป็นต้องนับจำนวน เช่น เปรียบเทียบจำนวนลูกปัดสีน้ำเงินกับลูกปัดสีเหลือง
เด็กจะบอกได้ว่าลูกปัดสีน้ำเงินมากกว่าสีเหลืองโดยใช้วิธีจับคู่กนึ่งต่อหนึ่ง นอกจากนี้เด็กยังสามารถเปรียบเทียบพื้นที่โดยนำมาวางเทียบกัน หรือเปรียบเทียบน้ำหนักโดยการยกได้อีกด้วย
การพัฒนาทักษะการเรียงลำดับ
การเรียนลำดับตั้งอยู่บนพื้นฐานกาเปรียบเทียบ การจัดเรียงนี้ต้องมีจุดเริ่มต้น ทิศทาง และต้องสะท้อนกฎบางกฎ เช่น การจัดเรียงสิ่งของ 3 สิ่ง จากสั้นที่สุดไปยาวที่สุด กฎก็คือ สิ่งที่อยู่ถัดไปต้องยาวกว่าสิ่งที่อยู่ก่อนหน้า (สสวท,2554)
ตัวอย่างกิจกรรม
ให้คุณพ่อมีลูกปัดสีน้ำเงิน คุณแม่มีลูกปัดสีเหลือง ลูกมีลูกปัดสีแดง ถามว่าใครมีลูกปัดมากที่สุด และใครมีลูกปัดน้อยที่สุด เด็กๆ อาจเรียงลูกปัดทีละคู่จนครบ ดังนั้นจะสามารถเรียงลำดับจำนวนลูกปัดจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้ พ่อมีลูกปัดสีน้ำเงินมีจำนวนมากที่สุด ลูกมีลูกปัดสีแดงมีมากเป็นอันดับ 2 และคุณแม่มีลูกปัดสีเหลืองและมีน้อยที่สุด
รู้จักการนับและจำนวนผ่านการเล่น
กิจกรรม สนุกกับการเคลื่อนไหว
จุดประสงค์ เด็กสามารถนับปากเปล่าจาก 1 ถึง 10 ได้
โดยครูจะร้องเพลงกับเด็กๆ พร้อมกับทำท่ากายบริหารไปด้วย นับ 1 ถึง 10 แล้วเปลี่ยนท่าไปเรื่อยๆ
เรียนรู้การวัดผ่านการทำอาหาร
กิจกรรม ตวงน้ำ
จุดประสงค์ เด็กสามารถตวงและบอกปริมาตรของสิ่งต่างๆ ที่กำหนดให้ โดยใช้เครื่องมือ และหน่วยที่ไม่เป็นมาตรฐานได้
การจัดกิจกรรม
- ครูสาธิตการตวงน้ำ โดยครูเตรียมน้ำสะอาด 1 ขวด แก้ว 1 ใบ ถาดรองน้ำกันเลอะเทอะ 1 ใบ จากนั้นครูก็เทน้ำจากขวดใส่แก้ว แล้วเทจากแก้วใส่ภาชนะอื่นก่อน จนน้ำหมดขวด ครูบอกปริมาตรเท่ากับ 2 แก้ว
- แบ่งเด็กเป็นกลุ่ม แล้วครูแจกอุปกรณ์ในการตวงที่แตกต่างกัน เช่น ถ้วย กระป๋อง ขัน จากนั้นครูให้เด็กๆ สังเกตว่าหากเครื่องมื่อในการตวงแตกต่างกัน ปริมาตรของสิ่งที่ตวงก็จะแตกต่างกันไปด้วย
ครูและเด็กๆ สรุปร่วมกันได้ว่า หากต้องการทราบปริมาตรของน้ำหรือของเหลวต้องใช้วิธีการตวงและนับจำนวนหน่วยของเครื่องมือที่ใช้ในการตวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น