พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2558





เนื้อหาที่ได้รับ / กิจกรรม

- อาจารย์แจกกระดาษให้คนละแผ่น  แต่ไม่ครบ  อาจารย์จึงยกตัวอย่างประกอบเพื่ออธิบาให้นักศึกษาเข้าใจ  คือ การที่กระดาษไม่ครบเพื่อจะให้นักศึกษาได้คิดแก้ปัญหา  โดยหาว่า กี่คนที่มีกระดาษ และกระดาษที่มีอยู่มีกี่แผ่น แล้วเหลือคนที่ไม่ได้กี่คน เช่น มีคนทั้งหมด 18 คน แจกกระดาษไปแล้ว 8 แผ่น เหลือคนที่ยังไม่ได้กระดาษกี่คน แสดงว่าคนมากกว่ากระดาษหรือกระดาษน้อยกว่าคน ส่วนคนที่ยังไม่ได้กระดาษมีกี่คนก็นับจากเพื่อนที่เหลือ สามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์ก็คือ (18-8=10) นั่นก็คือเหลือคนที่ยังไม่ได้กระดาษ 10 คน
      สรุป อาจารย์ต้องหากระดาษแจกให้อีก 10 แผ่นจึงจะครบและพอดีกับคนทั้งหมด

- อาจารย์สสอนการเขียน  Mind Mapping โดยวิเคราะห์คำศัพท์ของชื่อวิชา โดยมีคำศัพท์สำคัญคือ จัดประสบการณ์  คณิตศาสตร์  และเด็กปฐมวัย  โดยมีการเขียนดังนี้








ทักษะที่ได้รับ

- คิดแก้ปัญหา
- นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
- คิด วิเคราะห์ คำศัพท์เพื่อที่จะนำมาเขียน Mind mapping 
- ได้รู้จักวางแผนในการเขียน Mind mapping



การนำไปประยุกต์ใช้

- นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  การแจกหรือแบ่งของให้ครบกับจำนวนคน
- วางแผนก่อนที่จะลงมือทำงานต่างๆ เพื่อจะได้ตรวจสอบความผิดพลาดได้ง่าย


บรรยากาศในการเรียน

สนุกสนาน ผ่อนคลาย ไม่เครียด


ประเมินตนเอง

มีความกระตือรือร้นในการเรียน และเข้าใจดี


ประเมินเพื่อน

มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าเรียนดี


ประเมินอาจารย์

อธิบายงานได้ละเอียดและเข้าใจง่าย เป็นกันเอง








วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความ


สรุปบทความ  

เรื่อง  คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยกับการเล่นรอบตัว






ดร.ภัทรวดี  หาดแก้ว นักวิชาการ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา (สสวท.)  ได้กล่าวว่า ในวัยอนุบาล 
ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ  เป็นครูคนแรก เป็นบุคคลที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก  คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองสามารถเตรียมความพร้อมให้เด็กๆ ได้โดยจัดประสบการณ์สิ่งเสริมการเรียนรู้แบะพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เช่น  การจำแนก  การเปรียบเทียบ  และการเรียงลำดับ

การพัฒนาทักษะการจำแนก

เป็นการจัดกลุ่มแยกสิ่งของออกเป็นประเภทต่างๆ โดยพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันของสิ่งของนั้นๆ  (สสวท,2554) 

วิธีการพัฒนา

ให้เด็กๆ เกิดทักษะการจำแนกผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ให้เด็กเก็บช้อนใส่ในที่เก็บช้อน   เก็บส้อมใส่ในที่เก็บส้อม


การพัฒนาการเปรียบเทียบ

เป็นกระบวนการที่เด็กหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆบนพื้นฐานของลักษณะเฉพาะบางลักษณะ  (สสวท,2554)   เช่น  การเปรียบเทียบความสูงของเด็กกับคุณพ่อคุณแม่ เด็กก็จะบอกได้ว่าคุณพ่อคุณแม่สูงกว่า  อีกทั้งเด็กๆ ยังสามารถเปรียบเทียบจำนวนจำนวนของสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม ได็โดยไม่จำเป็นต้องนับจำนวน   เช่น  เปรียบเทียบจำนวนลูกปัดสีน้ำเงินกับลูกปัดสีเหลือง
เด็กจะบอกได้ว่าลูกปัดสีน้ำเงินมากกว่าสีเหลืองโดยใช้วิธีจับคู่กนึ่งต่อหนึ่ง  นอกจากนี้เด็กยังสามารถเปรียบเทียบพื้นที่โดยนำมาวางเทียบกัน หรือเปรียบเทียบน้ำหนักโดยการยกได้อีกด้วย



การพัฒนาทักษะการเรียงลำดับ

การเรียนลำดับตั้งอยู่บนพื้นฐานกาเปรียบเทียบ  การจัดเรียงนี้ต้องมีจุดเริ่มต้น ทิศทาง และต้องสะท้อนกฎบางกฎ  เช่น การจัดเรียงสิ่งของ 3 สิ่ง จากสั้นที่สุดไปยาวที่สุด  กฎก็คือ สิ่งที่อยู่ถัดไปต้องยาวกว่าสิ่งที่อยู่ก่อนหน้า  (สสวท,2554)  

ตัวอย่างกิจกรรม

ให้คุณพ่อมีลูกปัดสีน้ำเงิน  คุณแม่มีลูกปัดสีเหลือง  ลูกมีลูกปัดสีแดง  ถามว่าใครมีลูกปัดมากที่สุด และใครมีลูกปัดน้อยที่สุด เด็กๆ อาจเรียงลูกปัดทีละคู่จนครบ  ดังนั้นจะสามารถเรียงลำดับจำนวนลูกปัดจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้  พ่อมีลูกปัดสีน้ำเงินมีจำนวนมากที่สุด  ลูกมีลูกปัดสีแดงมีมากเป็นอันดับ 2 และคุณแม่มีลูกปัดสีเหลืองและมีน้อยที่สุด


รู้จักการนับและจำนวนผ่านการเล่น

กิจกรรม  สนุกกับการเคลื่อนไหว
จุดประสงค์   เด็กสามารถนับปากเปล่าจาก 1 ถึง 10 ได้

โดยครูจะร้องเพลงกับเด็กๆ พร้อมกับทำท่ากายบริหารไปด้วย นับ 1 ถึง 10 แล้วเปลี่ยนท่าไปเรื่อยๆ 


เรียนรู้การวัดผ่านการทำอาหาร

กิจกรรม  ตวงน้ำ
จุดประสงค์ เด็กสามารถตวงและบอกปริมาตรของสิ่งต่างๆ ที่กำหนดให้ โดยใช้เครื่องมือ และหน่วยที่ไม่เป็นมาตรฐานได้

การจัดกิจกรรม

- ครูสาธิตการตวงน้ำ โดยครูเตรียมน้ำสะอาด 1 ขวด แก้ว 1 ใบ ถาดรองน้ำกันเลอะเทอะ 1 ใบ  จากนั้นครูก็เทน้ำจากขวดใส่แก้ว แล้วเทจากแก้วใส่ภาชนะอื่นก่อน  จนน้ำหมดขวด ครูบอกปริมาตรเท่ากับ 2 แก้ว

- แบ่งเด็กเป็นกลุ่ม แล้วครูแจกอุปกรณ์ในการตวงที่แตกต่างกัน เช่น ถ้วย กระป๋อง ขัน จากนั้นครูให้เด็กๆ สังเกตว่าหากเครื่องมื่อในการตวงแตกต่างกัน ปริมาตรของสิ่งที่ตวงก็จะแตกต่างกันไปด้วย  

ครูและเด็กๆ สรุปร่วมกันได้ว่า  หากต้องการทราบปริมาตรของน้ำหรือของเหลวต้องใช้วิธีการตวงและนับจำนวนหน่วยของเครื่องมือที่ใช้ในการตวง


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 

วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม  2558





เนื้อหาที่ได้รับ

- อาจารย์แจกกระดาษให้แบ่งเป็น 3 ส่วน แล้วแจกเพื่อนให้ครบ  จากนั้นให้นักศึกษาเขียนจุดเด่นของตัวเอง เพื่อที่จะให้อาจารย์จำได้ โดยไม่ต้องเขียนชื่อ

- อาจารย์อธิบายรายละเอียดของรายวิชา และแจ้งรายละเอียดของการทำบล็อก แล้วมอบหมายงานให้ไปค้นหาซึ่งมี   ตัวอย่างการสอน  งานวิจัย 5 บท    และบทความ (ห้ามซ้ำกับเพื่อน)



ทักษะที่ได้

- รู้จักการวางแผนในการแบ่งกระดาษให้ได้ 3 ส่วน เท่าๆกัน

- รู้จักวิเคราะห์จุดเด่นของตนเอง เพื่อที่คนอื่นจะจดจำได้ง่ายๆ



การนำไปประยุกต์

- สามารถนำไปถ่ายทอดให้กับเด็กๆ เพื่อที่เขาจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

- นำไปใช้กับกิจกรรมการสอน และอื่นๆตามความเหมาะสม



บรรยากาศในห้องเรียน

อากาศเย็น สนุกสนาน ไม่เครียด


ประเมินตนเอง

มีการกระตือรือร้นในการที่จะมาเรียน


ประเมินเพื่อน

เพื่อนมีการตั้งใจฟังรายละเอียดงานที่อาจารย์มอบหมายเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์มีเทคนิคในการสอนอย่างน่าสนใจ อธิบาย และมอบหมายงานได้อย่างละเอียดและเข้าใจ